สารคีเลตอะไร? ทำไมเกษตรกรนิยมเลือกใช้ โดย kemfac ผู้ผลิตยาฆ่าแมลง และนำเข้าเคมีเกษตร

ยาฆ่าแมลง

ทำความรู้จักกับ สารคีเลต ตัวช่วยชั้นดีในงานเกษตรกรรมที่เกษตรกรทุกคนควรรู้จัก โดย kemfac ผู้ผลิตยาฆ่าแมลง

สารคีเลต (Chelate) คือสาระสำคัญที่เกษตรกรทุกคนควรรู้จักและลองใช้งาน โดยสารคีเลตคือสารที่ประกอบไปด้วยสารอินทรีย์ที่เรียกว่า ลิแกนด์ (Ligand) ที่สามารถห่อหุ้มเกาะกับแร่ธาตุประจุบวกอย่างโลหะได้ เช่น เหล็ก สังกะสี ทองแดงโคบอลต์ แมงกานีส กล่าวคือสารคีเลตจะทำหน้าที่เป็นตัวช่วยเร่งประสิทธิภาพให้กับแร่ธาตุต่าง ๆ ภายในดินและในปุ๋ยไปพร้อม ๆ กันได้ด้วยนั่นเอง เพราะเมื่อสารคีเลตเข้าไปห่อหุ้มตัวแร่ธาตุโลหะซึ่งเป็นแร่ธาตุส่วนใหญ่ในปุ๋ยและในดินได้ ก็จะช่วยให้แร่ธาตุเหล่านี้ตกตะกอนหรือละลายได้ช้าลง ส่งผลให้พืชใช้เวลาดูดซึมแร่ธาตุและสารอาหารต่าง ๆ ได้มากขึ้นตามไปด้วย ดังนั้นสารคีเลตจึงได้รับความนิยมสูงในหมู่เกษตรกร อย่างไรก็ตามนี่ไม่ใช่ประโยชน์เพียงข้อเดียวของสารคีเลต แต่ยังมีเรื่องต่าง ๆ อีกมากมายเกี่ยวกับสารตัวนี้ที่น่ารู้ เพื่อช่วยให้เกษตรกรทุกคนรู้จักสารตัวนี้อย่างละเอียดมากขึ้น บทความนี้เลยขอพาทุกคนไปทำความรู้จัก สารคีเลต ตัวช่วยชั้นดีในงานเกษตรกรรมที่เกษตรกรทุกคนควรรู้จัก ผ่าน 5 เรื่องน่ารู้ที่ไม่ควรมองข้าม ตามไปรู้จักกันเลย!

 

รวม 5 เรื่องน่ารู้เกี่ยวกับ สารคีเลต สารกระตุ้นแร่ธาตุและเสริมประสิทธิภาพปุ๋ยที่เกษตรกรควรใช้

  1. สารคีเลต คือสารที่กระจายตัวง่ายและเพิ่มการดูดซึมให้กับพืชได้ดีเพราะมีขนาดเล็ก
    อย่างที่เราได้บอกไปในตอนต้นว่าเหตุผลข้อแรกที่ทำให้สารคีเลตขึ้นชื่อว่าช่วยเสริมประสิทธิภาพปุ๋ยและแร่ธาตุโลหะต่าง ๆ ในดินได้ดี เป็นเพราะว่าเป็นสารเคมีที่ประกอบไปด้วยสารอินทรีย์ที่เรียกว่า ลิแกนด์ แต่นั่นไม่ใช่เพียงคุณสมบัติเดียวเท่านั้นที่ทำให้สารคีเลตทำงานได้ดี เพราะอีกหนึ่งคุณสมบัติที่ขาดไปไม่ได้ก็คือเรื่องขนาดที่เล็กมาก ๆ จึงสามารถกระจายตัวได้ง่ายและทั่วถึง ส่งผลให้พืชสามารถดูดซึมสารคีเลตได้มากขึ้น เมื่อเทียบกับสารประกอบขนาดใหญ่กว่านั่นเอง

  2. สารคีเลต คือสารที่มีประจุเป็นกลางทางเคมี จึงมีความเสถียร และปลอดภัยต่อการใช้งาน
    คำว่าประจุเป็นกลางทางเคมีในที่นี้ก็คือไม่มีประจุไฟฟ้านั่นเอง ด้วยเหตุนี้สารคีเลตจึงเป็นสารที่ไม่มีปฏิกิริยากับสารอื่น ๆ ในดินโดยไม่จำเป็น ส่งผลให้มีความเสถียรมากกว่า และไม่ถูกดูดซับหรือทำปฏิกิริยากับสารอื่น ๆ ในสิ่งแวดล้อมจนสลายตัวไปก่อนที่พืชจะได้ดูดซึม นอกจากนี้การที่สารคีเลตไม่มีประจุไฟฟ้ายังช่วยให้ไม่ไปรบกวนหรือทำให้เกิดความผิดปกติต่อกระบวนการภายในเซลล์พืชเมื่อถูกดูดซึมเข้าไปด้วย หมดกังวลว่ามันจะกลายเป็นพิษสะสมในดินที่สามารถกระทบต่อพืชในอนาคตได้ด้วย

  3. สารคีเลต คือสารที่สามารถเคลื่อนย้ายไปได้ทุกส่วนของพืช หมดกังวลเรื่องแร่ธาตุไม่ทั่วถึง
    นอกจากความเป็นกลางจะทำให้สารคีเลตปลอดภัยแล้ว ความเป็นกลางยังช่วยให้สารต่าง ๆ กระจายไปทั่วทุกส่วนของพืชอีกด้วย เนื่องจากสามารถทำให้สารต่าง ๆ ซึมผ่านปากใบไปยังเซลล์พืชได้อย่างง่ายดาย อีกทั้งสารคีเลตยังมีหลักการเคลื่อนย้ายภายในพืชคล้ายกับกรดอะมิโนที่พืชสร้างขึ้นเองด้วย กล่าวคือโมเลกุลของสารคีเลตมีขนาดเล็กและมีหมู่ฟังก์ชันบางอย่างคล้ายกับกรดอะมิโนที่พืชสังเคราะห์ขึ้นเอง เช่น หมู่อะมิโนและหมู่คาร์บอกซิล จึงถูกจัดอยู่ในกลุ่มสารประกอบเคลื่อนที่ได้ (mobile compounds) เช่น เดียวกับกรดอะมิโน ส่งผลให้เมื่อสารคีเลตเข้าสู่พืชแล้ว จะถูกขนส่งผ่านท่อลำเลียงสารอาหาร (vascular bundle) คล้ายกับหลักการเคลื่อนย้ายของกรดอะมิโน สามารถเคลื่อนย้ายจากรากขึ้นไปตามลำต้นสู่ส่วนต่าง ๆ ของพืช ไม่ว่าจะเป็นใบ กิ่ง หรือผลไม้ และด้วยคุณสมบัติพิเศษข้อนี้ ทำให้สารคีเลตสามารถนำธาตุอาหารเคลื่อนย้ายกระจายไปทั่วทั้งต้น แทนที่จะค้างอยู่เฉพาะบริเวณที่ใส่สารคีเลตลงไปเท่านั้น สารคีเลตจึงเป็นตัวช่วยสำคัญที่สามารถกระจายสารอาหารสู่พืชได้อย่างทั่วถึงและมีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น

  4. ประเภทของ สารคีเลต
    ในปัจจุบันพบว่าสารคีเลตนั้นจะแบ่งออกเป็นสองหมวดใหญ่ ๆ คือสารคีเลตจากธรรมชาติ ซึ่งเป็นสารอินทรีย์ที่พบได้ตามธรรมชาติ เช่น กรดฮิวมิก (Humic acid) พบในดิน, กรดอะมิโน (Amino acids) เป็นองค์ประกอบของโปรตีน, กรดซิตริก (Citric acid) พบในผลไม้หลายชนิด และกรดฟีโนลิก (Phenolic acids) พบในพืช กับสารคีเลตสังเคราะห์ ซึ่งเป็นสารประกอบอินทรีย์ที่สังเคราะห์ขึ้นเพื่อใช้เป็นสารคีเลตในการจับกับธาตุโลหะต่าง ๆ เช่น เหล็ก ทองแดง สังกะสี และแมงกานีส ตัวอย่างสารคีเลตสังเคราะห์ที่สำคัญ ได้แก่ EDTA (Ethylenediamine Tetraacetic acid), EDDHA (Ethylenediamine di-o-hydroxyphenylacetic acid), DTPA (Diethylenetriamine pentaacetic acid), NTA (Nitrilotriacetic acid), HEDTA (Hydroxyethyl ethylenediamine tetraacetic acid)

  5. สารคีเลต สามารถหาซื้อได้ง่ายตามร้านขายอุปกรณ์ทางการเกษตรทั่วไป
    ปัจจุบันสารคีเลตหลายชนิดจะมาในรูปแบบ อาหารเสริม ปุ๋ยเกล็ด และสารฮอร์โมน ซึ่ง บริษัท เคมแฟค มีในผลิตภัณฑ์สำเร็จรูปมาแล้วได้แก่ นิวโตรซิงค์ มอลตาร์แคล ริชซูปเปอร์ โดยสารคีเลตที่นิยมใช้ ได้แก่ EDTA (Ethylenediamine Tetraacetic Acid) นั่นเอง ซึ่งสารเหล่านี้มักจะอยู่ในรูปแบบสารละลายเข้มข้น ซึ่งต้องผสมกับน้ำและใช้ร่วมกับปุ๋ยในการใส่ให้กับพืช อย่างไรก็ตามควรศึกษาวิธีการใช้และข้อควรระวังในการใช้งานให้ถูกต้องก่อนนำไปใช้เสมอ


เป็นอย่างไรกันบ้างกับ 5 เรื่องน่ารู้เกี่ยวกับ สารคีเลต สารกระตุ้นแร่ธาตุและเสริมประสิทธิภาพปุ๋ยที่เกษตรกรควรใช้ หลังจากอ่านจบครบทั้งห้าข้อนี้แล้ว เชื่อว่าทุกคนน่าจะรู้จักสารคีเลตดีมากขึ้นแน่นอน ส่วนใครที่กำลังมองหาสถานที่จัดจำหน่ายสารคีเลตและสารเคมีทางการเกษตรที่มีคุณภาพน่าเชื่อถือ KEMFAC ก็พร้อมให้บริการ เพราะเราคือผู้ผลิตและนำเข้าสินค้าเคมีเกษตรชั้นนำ ภายใต้แบรนด์การค้า ตรากระทิงคู่ มีนโยบายที่แน่วแน่ ในการผลิตสินค้าที่มีคุณภาพมาตรฐาน เพื่อให้ได้ประสิทธิภาพดีที่สุดแก่พี่น้องเกษตรกรและช่วยแก้ไขปัญหาในการผลิตพืช เรามีการจัดจำหน่ายสินค้ามากมายไม่ว่าจะเป็น สารกำจัดศัตรูพืช สารกำจัดแมลง สารกำจัดวัชพืชในนาข้าว ยาคุม-ฆ่า สารกำจัดเพลี้ย หนอนกระทู้ข้าวโพด สารกำจัดเพลี้ยหรือยาฆ่าเพลี้ยไฟ ยากำจัดวัชพืชแบบเผาไหม้ รับประกันคุณภาพด้วยมาตรฐาน ISO 9001 และ ISO/IEC 17025 ซึ่งเป็นมาตรฐานระดับโลก

 

สอบถามรายละเอียดเพิ่มเติม

โรงงาน บริษัท เคมแฟค จำกัด
990 นิคมอุตสาหกรรมบางปู หมู่ 2
ต.บางปูใหม่ อ.เมืองสมุทรปราการ จ.สมุทรปราการ 10280
โทร. 02-709-2597-8 แฟกซ์: 02-709-6784

สำนักงาน บริษัท เคมเทรด จำกัด
68 ซ.เฉลิมพระเกียรติ ร.9 ซอย 34
แขวงหนองบอน เขตประเวศ กทม. 10250
โทร. 02-7267498-99 แฟกซ์: 02-709-6784 

Powered by MakeWebEasy.com
This website uses cookies for best user experience, to find out more you can go to our Privacy Policy  and  Cookies Policy